หลัก 11 อ. เรื่องสุขภาพที่ผู้สูงวัยต้องรู้

หลัก 11 อ. เรื่องสุขภาพที่ผู้สูงวัยต้องรู้

11 อ

ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในครอบครัว คือผู้อาวุโสที่ลูกหลานควรให้ความเคารพรัก หน่วยงานต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุ การเตรียมร่างกายให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของอายุที่เพิ่มมากขึ้นนั้น เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้สูงวัยเป็นอย่างมาก เพราะ ร่างกายที่เริ่มเสื่อมถอย วันนี้โอแคร์ ก็มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพง่ายๆมาฝาก ด้วยหลัก 11 อ สูงวัยอย่างสตรอง! เพื่อสุขภาพกายใจที่ดี

หลัก 11 อ

1.อาหาร

อาหาร

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของระบบการทำงานในอวัยวะทุกระบบ ดังนั้น ควรลดปริมาณอาหารลง ให้สัมพันธ์กับการใช้พลังงานจริงคือประมาณ 1,500 กิโลแคลอรีต่อวัน และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงรับประทานผลไม้ และผักต่าง ๆ ให้มากขึ้น อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ควรใส่ใจเรื่องอาหารเป็นพิเศษ ควรลดอาหารประเภทไขมัน แป้ง และน้ำตาลลง เน้นทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย โดยเฉพาะปลา ควรทานผักและผลไม้ให้มาก โดยอาหารที่ผู้สูงอายุควรทานเป็นประจำ

อาหาร1. เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อปลา 2. ไข่ อาทิตย์ละ 3 – 4 ฟอง (แต่ถ้ามีปัญหาด้านไขมันและ คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง ควรทานเฉพาะไข่ขาว) 3. นมสด โดยเลือกทานนมที่เหมาะกับผู้สูงวัย 4. ผักใบเขียวสด ทานได้เป็นของว่างได้เลย 5. น้ำบริสุทธิ์ ดื่มวันละ 8 แก้ว / วัน ไม่ควรขาด! 6. ผลไม้ต่าง ๆ แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น กล้วยสุก มะม่วงสุก  ลำไย เป็นต้น

2.อากาศ

สมองจะทำงานได้ดีหากได้รับอากาศบริสุทธิ์ ผู้สูงวัยควรฝึกการหายใจลึก ๆ เพื่อช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ ฯลฯ ผู้สูงอายุควรเลือกสูดอากาศบริสุทธิ์ เพราะ อากาศบริสุทธิ์นั้นจะช่วยล้างสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในปอดออกมา  และยังส่งผลให้อารมณ์แจ่มใส สุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาว แต่ถ้าสูดอากาศเสียเข้าร่างกายอาจทำให้มีอาการปวดศรีษะ หงุดหงิด และเหนื่อยล้าง่าย

3.ออกกำลังกาย

ออกกำลังกาย

ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือควรจะออกกำลังการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 15-20 นาที เป็นประจำติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 เดือน และควรทำสม่ำเสมอในเวลาเดียวกัน เพื่อสร้างความคล่องตัวให้ร่างกาย เคลื่อนไหวได้สะดวก และแข็งแรง เพราะมีผลต่อการปรับตัวของร่างกาย ทั้งนี้ ก่อนออกกำลังกายควรจะรออย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ก่อน และหลังรับประทาน

4.อนามัย

อนามัย

หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย และจิตใจ ถ้าสังเกตพบความผิดความปกติในระยะเริ่มต้น จะทำให้การรักษาได้ผลดี ในด้านอนามัย ควรงดสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มมึนเมา รวมไปถึงดูแลสุขอนามัยรอบตัว และตรวจสุขภาพประจำปี ตั้งแต่อายุ 65 ปีเป็นต้นไป

5.แสงอาทิตย์

แสงอาทิตย์

รับแสงแดดอ่อนยามเช้า อย่างน้อยวันละ 30 นาที ช่วยป้องกัน และซะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะ “วิตามินดี” จากแสงแดดตอนเช้า ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง และควบคุมแคลเซียม อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศดี ถ่ายเทได้สะดวก ห่างไกลมลพิษต่าง ๆ และได้รับแสงแดดอ่อน ๆ เป็นประจำ

6.อารมณ์

อารมณ์ดี

การทำสมาธิ ช่วยให้เกิดอาการผ่อนคลาย มีสติมากขึ้น โดยผู้สูงอายุ อาจจะฝึกนั่งสมาธิทุกวันยามตื่นเช้า หรือก่อนนอน โดยสูดลมหายใจ เข้า – ออก ตามปกติ ไม่ต้องฝืนลมหายใจ หายใจเข้าให้รู้ว่าหายใจเข้าอยู่ หายใจออกให้รู้ว่าหายใจออกอยู่ เป็นต้น ส่วนเสียงหัวเราะก็มีส่วนให้สุขภาพ อารมณ์ และจิตใจดีขึ้นได้เช่นกัน เพราะ การหัวเราะเป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อมีการหัวเราะ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน “ความสุข” ชื่อ “เอ็นโดฟีน” ขึ้นมานั่นเอง

7.งานอดิเรก

อดิเรกผู้สูงอายุควรหางานอดิเรกที่ตนเองคิดว่า ชอบ หรือรักที่จะทำ เช่น การปลูกต้นไม้ ร้องเพลง เต้นรำกับเพื่อน ๆ  เลี้ยงสัตว์ที่รัก ทั้งนี้งานอดิเรกควรเป็นงานที่ผ่อนคลาย สบายใจ ทำแล้วไม่เครียด งานอดิเรกที่ชื่นชอบทำช่วยให้ไม่หมกมุ่นอยู่กับตนเองมากไป

8.อบอุ่น

อบอุ่น

การเป็นบุคคลที่มีบุคลิกโอบอ้อม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้การช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัว และบุคคลอื่น เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขกับชีวิตประจำวัน

9.อุจจาระ / ปัสสาวะ

อุจจาระ

การมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ เรื่องของการขับถ่ายสำคัญสำหรับผู้สูงอายุมาก ควรใส่ใจและหมั่นขับถ่ายให้เป็นปกติสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ต้องขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะให้เป็นเวลาอีกด้วย โดยเฉพาะการขับถ่ายอุจจาระนั้น ต้องทำให้เป็นเวลาทุกวัน อย่าปล่อยให้ท้องผูก  เพราะจะทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายแปรปรวนได้ ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพราะผู้หญิงสูงวัยหลายคนมีปัญหาการกลั้นปัสสาวะ หลายคนจึงไม่ชอบดื่มน้ำ

10.อุบัติเหตุ

อุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วก็มีโอกาสเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะเรื่อง “การพลัดตกหกล้ม” คือเรื่องของอุบัติเหตุ การลื่นล้ม ซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้ จึงควรจัดให้มีราวจับเพื่อให้เดินได้สะดวก มีการจัดบ้านที่ไม่เกะกะ เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุเป็นอย่างดี เป็นเรื่องที่ควรระวังในวัยสูงอายุอย่างมาก เพราะ ผู้สูงอายุ มักจะล้มง่าย บวกกับร่างกายที่ชราภาพ อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้เลยทีเดียว

11.อนาคต

อนาคต

ผู้สูงอายุควรคิดถึงอนาคตด้วย เช่น เตรียมเงิน และที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้การซื้อประกันชีวิตเพื่อลูกหลาน หรือเพื่อตัวเอง ก็เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงเช่นกัน วางแผนอนาคตอย่างครบถ้วน และการอยู่ใกล้ชิดคนในครอบครัว พบปะเพื่อนฝูงบ้าง รวมถึงการเห็นคุณค่าในตนเอง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ช่วยให้สภาพจิตใจของผู้สูงอายุดีขึ้นได้

หลัก 11 อ เป็นหลักที่ผู้สูงอายุ และบุตรหลานที่มีผู้สูงอายุในบ้านควรใส่ใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุของท่านมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่เป็นที่พึ่งทางจิตใจให้กับครอบครัวได้อย่างยาวนาน นับว่ามีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ถ้าได้นำไปปฎิบัติตาม ทั้งนี้ผู้สูงอายุแต่ละคนก็มีปัญหาชีวิต หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ลูกหลานจึงมีส่วนอย่างมากที่จะช่วยประคับประคองให้ผู้สูงอายุในครอบครัว มีความสุข และสุขภาพที่ดีได้ และควรได้รับการตรวจประจำปีในผู้สูงอายุ หรือผู้สูงวัย

อ้างอิงจาก สสส. , สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย www.ocare.co.th

leave your comment


Your email address will not be published. Required fields are marked *