แนวทางกายภาพบำบัด สำหรับผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง

แนวทางกายภาพบำบัด สำหรับผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง

     กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง คือ การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยในเรื่องต่าง ๆ เช่น ข้อ กล้ามเนื้อ หรือทำเพื่อผ่อนคลาย ผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง มักมีปัญหาสุขภาพจากความเสื่อมถอยของร่างกาย และจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาหะสมจากผู้ดูแลและฝึกตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ

แต่สำหรับผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้น จะต้องทำกายภาพบำบัดแบบ Passive Rehabilitation exercise เพื่อช่วยเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ ไม่ให้ติดจนเคลื่อนไหวไม่ได้  ในขณะที่ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมถึงการทำให้ผู้ป่วยตระหนักในความสามารถของตนเองจากการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้นขณะทำกายภาพบำบัดร่วมกับผู้ดูแล เช่น ตะแคงตัว ลุกนั่ง เป็นต้น สำหรับในบทความนี้ เราได้ศึกษา และรวบรวมท่าทำกายภาพเบื้องต้น ที่ผู้ดูแลสามารถทำตามได้ อย่างไรก็ตาม ข้อแนะนำในการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงนั้น ผู้ดูแลต้องเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ และควรทำซ้ำทุกวัน ท่าละ 10 ครั้ง/Set และควรทำ 3 Set/วัน เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยให้มากที่สุด

ดูแลต้องเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ และควรทำซ้ำทุกวัน ท่าละ 10 ครั้ง/Set และควรทำ 3 Set/วัน

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 1 ยกแขนขึ้น-ลง

จับบริเวณข้อศอก และข้อมือของผู้ป่วยให้หงายขึ้น ยกขึ้นตรงๆ ตามแนวระนาบข้างลำตัวเป็นจังหวะช้าๆ ยกขึ้นให้สุดจนถึงขนานกับหู แล้วเอาลงช้าๆเป็นจังหวะ

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 2 กาง-หุบแขน

จับบริเวณข้อศอก และข้อมือของผู้ป่วยพร้อมกางแขนออกมาด้านข้าง ค่อยๆงอข้อศอกและเหยียดแขนขึ้นชิดศีรษะ แล้วจึงงอข้อศอกกลับมาในทิศทางเดิม

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 3 หมุนข้อไหล่ เข้า-ออก

จับบริเวณข้อศอก และข้อมือของผู้ป่วยพร้อมกางแขนออกมาด้านข้างตั้งเป็นมุมฉาก 90 องศา ดันแขนผู้ป่วยลงด้านบน 10 ครั้ง และดันลงด้านล่าง 10 ครั้ง

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 4 งอ-เหยียดข้อศอก

วางแขนของผู้ป่วยแนบลำตัว แล้วหงายฝ่ามือขึ้น งอข้อศอกขึ้นจนมือแตะไหล่ผู้ป่วย แล้วจึงเหยียดออกช้าๆ

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 5 กระดกข้อมือขึ้น-ลง / ซ้าย-ขวา

จับบริเวณข้อมือของผู้ป่วยแล้วกระดกมือขึ้น-ลง 10 ครั้ง แล้วจึงจับมือบิดไปทางซ้าย-ขวา 10 ครั้ง

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 6 งอข้อนิ้วมือ

กำมือผู้ป่วย และกางออก 10 ครั้ง พับนิ้วของผู้ป่วยทีละนิ้วเรียงกันไป 10 ครั้ง  จับนิ้วหัวแม่มือ แล้วอีกข้างจับนิ้วที่เหลือมาแตะที่นิ้วหัวแม่มือทีละนิ้ว 10 ครั้ง

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 7 กางนิ้วมือ

กางนิ้วมือผู้ป่วยเข้า-ออก 10 ครั้ง

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 8 งอ-เหยียดข้อสะโพก

ยกขาขึ้นแล้ววางตั้งไขว้กับขาอีกข้าง ค่อยๆกดน้ำหนักลงจนตึง จึงคลายออก ทำด้านละ 10 ครั้ง

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 9 งอ-เหยียดข้อสะโพก

จับบริเวณข้อเท้า และ ข้อเข่าด้านล่าง แล้วยกขาขึ้นเป็นมุมฉาก ทำข้างละ 10 ครั้ง

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 10 กาง-หุบข้อสะโพก

จับบริเวณข้อเท้า และข้อเข่า ยกขาขึ้นเล็กน้อย แล้วกางออกด้านข้าง 45 องศาแล้วหุบเข้า ข้างละ 10 ครั้ง

กายภาพบำบัด

ท่าที่ 11 กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง / ซ้าย-ขวา

ช้อนส้นเท้า และจับบริเวณหน้าแข้ง ยกส้นเท้าขึ้นจนรู้สึกตึงค้างไว้ 10 วินาที แล้วจึงเอาลง ทำข้างละ 10 ครั้ง

หลังจากนั้นบิดข้อเท้าไปทางซ้าย และขวาสลับกัน 10 ครั้ง

ท่าที่ 12 กระดกนิ้วเท้าขึ้น-ลง / กาง-หุบ

กดปลายนิ้วเท้าขึ้น-ลง สลับกัน 10 ครั้ง กางนิ้วเท้าให้รู้สึกตึงแล้วหุบ ข้างละ 10 ครั้ง

นอกจากการดูแลกายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียงแล้ว ยังคงต้องดูแลในเรื่องขั้นพื้นฐาน ที่เกิดจาก ภาวะกลืนลำบาก (อาจเสี่ยงต่อการสำลัก) ,ภาวะสมองเสื่อม (ที่ยังรับรู้เคลื่อนไหวลำบาก) ,ภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีวิธีการดูและเอาใจใส่ดังต่อไปนี้

แนวทางการดูแลขั้นพื้นฐานผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง

ภาวะกลืนลำบาก (อาจเสี่ยงต่อการสำลัก)

ภาวะกลืนลำบาก

ขณะทานอาหาร ไม่ควรเคร่งเรื่องมารยาท หมั่นพูดคุยให้ตื่นตัว ยิ้มกว้าง 3 ครั้ง

ภาวะกลืนลำบาก

ปรับเตียง 45-90 องศา จับลุกนั่งบนเตียงฝึกหายใจเข้าทางจมูก-เป่าปาก 3 ครั้ง + หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ 3 ครั้ง

ภาวะกลืนลำบาก

ปรับเตียง 45-90 องศา จับลุกนั่งบนเตียง ให้หลับตาขมวดคิ้ว ย่นจมูก 3 ครั้ง + ทำปากจู๋ สบฟัน 3 ครั้ง พร้อมกับ ก้มคอ กลืนน้ำลาย ไอ 1 ครั้ง ร้อง อา อู ดังๆ 1 ครั้ง แล้วฝึกกลืน

ภาวะสมองเสื่อม (ที่ยังรับรู้เคลื่อนไหวลำบาก)

ภาวะสมองเสื่อม

เข้าใจสภาวะเจ็บป่วย ไม่ตำหนิโต้เถียง ทำทุกสิ่งให้ง่ายเป็นขั้นตอน พูดซ้ำๆ พาหัวเราะ

ภาวะสมองเสื่อม

ปรับเตียง 45-90 องศา จับลุกนั่งบนเตียง กระตุ้นการมอง โดยฝึกหยิบของส่งจากมือซ้ายไปขวา 3 ครั้ง และขวาไปซ้าย 3 ครั้ง + กระตุ้นฟังเสียงเพลง โดยเริ่มปรบมือตาม จากหน้าอก > จมูก > เหนือศีรษะ ฝึก 3 ครั้งต่อรอบ /5 รอบ

ภาวะสมองเสื่อม

ปรับเตียง 45-90 องศา จับลุกนั่งบนเตียง ฝึกหันคอ ซ้าย ขวา ก้ม เงย และมองตรง +ให้หลับตา ขมวดคิ้ว ย่นจมูก ฝึก 3 ครั้ง +ประสานมือยกแขนขึ้น-ลง ฝึก 5 ครั้ง

ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า

ประเมินสัญญาณเตือน ลดสิ่งกระทบความรู้สึก เข้าใจโรค พูดคุยรับฟัง ให้กำลังใจ

ภาวะซึมเศร้า

ปรับเตียง 45-90 องศา จับลุกนั่งบนเตียง ใช้มือเตะอวัยวะบนหน้าเลียนแบบ ฝึก 3 ครั้ง +ให้ส่งเสียงเรียกอวัยวะและให้ออกเสียงพูดตาม ฝึก 3 ครั้ง

ภาวะซึมเศร้า

ปรับเตียง 45-90 องศา จับลุกนั่งบนเตียง ฝึกขยับคิ้วขึ้น กรอกตาซ้ายไปขวา 3 ครั้ง + ปรบมือข้างหน้า > หลัง > ซ้าย > ขวา > กลางลำตัว 3 ตั้ง + ให้งอเข่า ยกขาขึ้น-ลง เหยียดเข่า ยกขาขึ้น-ลง ฝึก 3 ครั้ง

         ดังนั้น กายภาพบำบัดผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง มีวิธีง่ายๆ เป็นการดูแลเอาใจใส่ครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ มีสุขภาพกายและจิตใจที่แข็งแรง เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม นอกจากนี้การกายภาพบำบัดอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านติดเตียงจำเป็นต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ  ซึ่งเป็นอีกเรื่องสำคัญสำหรับญาติหรือผู้ดูแลควรต้องตระหนักถึง ควรมีการปรึกษาแพทย์อยู่เป็นประจำ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง

  อ้างอิง PHAR TRILLION ,คู่มือการดูแลระยะยาว (Long Term Care) สำหรับทีมหมอครอบครัว  www.ocare.co.th

leave your comment


Your email address will not be published. Required fields are marked *