ภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
เนื่องจากการรับกลิ่นและรสจะเปลี่ยนไป จนเกิดอาการเบื่ออาหาร กินน้อย หรือบางคนเลือกกิน การให้อาหารผ่านสาย ทำให้กินได้จำกัดและไม่หลากหลาย พอนานวันเข้า สารอาหารที่ได้รับจะไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ขาดสารอาหารบางอย่าง ไม่ร่าเริง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ในระยะยาวจะสะสมจนทำให้ สมองทำงานไม่เต็มที่ ผิวพรรณไม่ดี แผลหายช้าลง เคลื่อนไหวลำบากไม่เหมือนที่เคย และคุณภาพชีวิตโดยรวมย่ำแย่
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า อาการดังกล่าวเป็นอาการทั่วไปของคนชราและปล่อยปละละเลย จนเกิดภาวะขาดสารอาหารสะสมทีละนิด โดยไม่รู้ตัว และมักจะส่งผลให้น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ กล้ามเนื้อค่อย ๆ ลีบลง ซึ่งหากได้รับโภชนาการที่ดีแล้ว บางรายอาจฟื้นตัวและกลับมามีกำลังวังชาได้อีกครั้ง การดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารให้ครบ 5 หมู่จึงสำคัญ
แน่นอนว่าสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคน ความต้องการสารอาหารและพลังงานก็จะแตกต่างกันไป ตามอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน แต่โดยทั่วไป ตามคำแนะนำธงโภชนาการ โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำปริมาณอาหารที่ผู้สูงอายุควรได้รับดังนี้
ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ หรือปัญหาการขาดสารอาหาร เพราะผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง ร่วมกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ฟัน กระเพาะอาหาร ลำไส้ ที่มีประสิทธิภาพลดลงตามธรรมชาติ จึงทำให้ได้รับอาหารไม่เพียงพอ เกิดเป็นปัญหาการขาดสารอาหารตามมาได้ จึงจำเป็นต้องมีการประเมินภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุเป็นระยะ เพื่อให้สามารถตรวจหาภาวะขาดสารอาหารได้ตั้งแต่ระยะเนิ่น ๆ เพื่อทำการดูแลรักษาให้เหมาะสมต่อไป
5 ข้อควรรู้ ในการดูแลอาหารให้ผู้สูงอายุ
1. สารอาหารที่ครบถ้วนและสมดุล สำคัญต่อการดูแลภาวะขาดสารอาหาร
หลายคนเข้าใจผิด เสริมแต่วิตามินเป็นเม็ดๆ หรืออาหารเสริมทั่วไป ที่มักเน้น “สารอาหารรอง” ทั้งที่ในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญที่มักละเลยคือ “สารอาหารหลัก” เช่น โปรตีน ไขมันชนิดดี คาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ได้พลังงานที่เพียงพอ เราจึงแนะนำให้รับประทานอาหารครบถ้วน 5 หมู่ ที่ให้โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และ เกลือแร่ในปริมาณที่พอเหมาะและครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2. เวย์โปรตีน เหมาะกับผู้สูงอายุ
หลายคนเข้าใจผิดว่า เวย์โปรตีน คือโปรตีนที่เหมาะกับคนหนุ่มสาวที่เล่นกล้ามเท่านั้น จริงๆแล้วผู้สูงอายุนี่แหละที่ต้องการอย่างมาก เพราะเวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่สร้างกล้ามเนื้อได้ดี ดังตารางด้านล่างที่งานวิจัยพบว่า ร่างกายคนเราสามารถดูดซึม เวย์โปรตีน ไปสร้างกล้ามเนื้อได้ดีกว่า ไข่ นม หรือเนื้อสัตว์ ดังนั้นยิ่งผู้สูงอายุที่ทานข้าวได้น้อย ก็ยิ่งควรเลือกกินเวย์โปรตีน เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ได้รับโปรตีนน้อย กล้ามเนื้อจะยิ่งลีบลงเร็ว ส่งผลเสียต่อการเคลื่อนไหว
3. การดูแลด้วย โพรไบโอติกส์ (จุลินทรีย์สุขภาพ) และ ใยอาหาร
โพรไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์สุขภาพที่ดี ที่จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ไม่ดีในลำไส้ของคนเรา สามารถช่วยให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้นและปรับสมดุลการขับถ่าย 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มักจะมีปัญหาระบบขับถ่าย นอกจากนี้ การได้รับอาหารเสริมที่มีเส้นใยอาหารยังอาจช่วยลดอาการท้องผูก ใยอาหารบางชนิดยังสามารถดูดซับของเสียแล้วถ่ายออกมาได้อีกด้วย เช่นดูดซับไขมันหรือน้ำตาลส่วนเกิน ไม่ให้ดูดซึมเข้าร่างกาย แล้วขับออกมา ผู้สูงอายุจึงควรได้รับใยอาหารในปริมาณที่เหมาะสม
4. วิตามินอี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
ผลงานวิจัยทางการแพทย์บ่งชี้ว่า การได้รับวิตามิน อี ที่พอเหมาะในปริมาณที่สูง สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้หากทานติดต่อกันเป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งสำคัญในผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นวัยที่มีการติดเชื้อง่าย การเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินอี จึงเป็นเกราะป้องกันที่ดี ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุข
5. ไขมันชนิดดี
ไขมันไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป การกินไขมันที่ดี จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น รู้หรือไม่ว่า การกินไขมันชนิดดีที่เรียกว่า MUFA มีผลวิจัยระบุว่ามีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมันรวม และลดไขมันตัวร้าย คือ LDL และ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ โดยไม่ทำให้ระดับไขมันชนิดดี HDL ลดลง การรับประทานไขมัน MUFA ที่พบได้มากในไขมันจากพืชเช่น ดอกคาโนล่า ดอกทานตะวัน เรปซีด จึงมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ
การจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
นอกจากคำนึงถึงปัจจัยเรื่องโภชนาการ ในการจัดอาหารให้ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคลด้วย เช่น ความอร่อย ความชอบ ความคุ้นเคยกับอาหาร การจัดอาหารที่ได้คุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม และน่ารับประทาน รสชาติดี จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและลองผิดลองถูกจนทำให้ได้แบบแผนอาหารที่เป็นแบบแผนเฉพาะบุคคล ไม่มีแบบแผนตายตัวที่ให้ผู้สูงอายุทุกคนปฏิบัติตาม
ข้อควรคำนึงถึงอีกเรื่องหนึ่งเวลาจัดอาหารให้ผู้สูงอายุคือ หากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง ก็อาจจำเป็นต้องจัดอาหารพิเศษเพื่อให้เหมาะสมกับโรคนั้น ๆ การจัดอาหารเฉพาะโรค ควรปรึกษานักโภชนาการ/นักกำหนดอาหารในโรงพยาบาลด้วยเสมอ เพราะเงื่อนไขและสภาวะของโรคต่าง ๆ ของแต่ละคนย่อมต่างกัน จึงส่งผลให้การจัดอาหารแตกต่างกันด้วย
จะเห็นได้ว่าการดูแลด้านอาหารและโภชนาการ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญมากในการดูแลผู้สูงอายุ โดยที่ผู้ดูแลจะมีบทบาทที่สำคัญมากในการส่งเสริมโภชนาการที่ดี ตั้งแต่การเลือกอาหาร การเตรียมอาหาร การปรุงประกอบ ไปจนถึงการดูแลผู้สูงอายุให้บริโภคอาหารให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นอาหารธรรมดา หรืออาหารทางสายให้อาหาร ดังนั้นหากผู้ดูแลมีความเอาใจใส่ จัดการดูแลอาหารและโภชนาการ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาด้วย ซึ่งก็จะเกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้สูงอายุ และผู้ดูแลเช่นเดียวกัน การตรวจเช็คสุขภาพประจำปีของผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่ควรทำเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ1 ครั้งก็จะช่วยทำให้เราได้รู้และเข้าใจร่างกายของผู้สูงอายุมากขึ้นอีกด้วย
อ้างอิงจาก สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย www.ocare.co.th