เกิดอะไรขึ้นในสมอง ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

เกิดอะไรขึ้นในสมอง ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน

โรครพาร์กินสัน

มีอาการที่พบได้บ่อย ๆ ได้แก่ การเคลื่อนไหวช้า อาการสั่นของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในท่าพักแต่ดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว และอาการเกร็ง ซึ่งสัมพันธ์กับเซลล์สมองที่ถูกทำลายไปแล้วอย่างน้อยร้อยละ 60 ความผิดปกติที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเนื่องจากโรคพาร์กินสันเป็นผลจากการตายของเซลล์สมองส่วนก้านสมองส่วนกลาง (Midbrain) ในส่วนสับสแตนเชียไนกรา ซึ่งมีผลทำให้สารสื่อประสาทโดพามีนซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องของร่างกายลดลง

เซลล์สมอง

เซลล์สมองตาย

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของสมอง เนื่องจากเซลล์สมองบริเวณส่วนลึกเบซอลแกงเกลีย และก้านสมองมิดเบรนในส่วนสับสแตนเชียไนกรามีความผิดปกติอย่างช้า ๆ ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีส่วนในการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าโดพามีนซึ่งช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจึงมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวผิดปกติซึ่งเป็นอาการที่สำคัญของโรค การเสื่อมของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นและก้านสมองส่วนเมดัลลาและพอนส์ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของลำไส้ การนอนและอารมณ์จิตใจ ดังนั้นผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอาจมีอาการได้กลิ่นลดลง ท้องผูก

ความผิดปกติทางด้านอารมณ์ 

วิตกกังวล ซึมเศร้า

เช่น ย้ำคิดย้ำทำอาการซึมเศร้า วิตกกังวล

หรือร้องตะโกนขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับร่วมด้วย อาการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดกรองผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาพบแพทย์อาจสังเกตว่า

  • มีการเคลื่อนไหวช้าลง
  • เดินลากขา
  • ไม่แกว่งแขน
  • ตัวแข็งเกร็ง
  • พูดเสียงเบาและช้าลง
  • เขียนหนังสือตัวเล็กลงกว่าเดิม 

Functional MRI ตรวจวัดความผิดปกติ

Functional MRI

การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันยังต้องอาศัยการซักถามประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการถ่ายภาพเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเพียงการแยกโรคอื่น ๆ ที่มีอาการแสดงคล้ายโรคพาร์กินสันออกไป ในปัจจุบันมีการตรวจการทำงานของสมองที่เรียกว่า Functional MRI เช่น F-Dopa Pet Scan ซึ่งสามารถตรวจวัดความผิดปกติของสารโดพามีนในสมองของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้แต่เนื่องจากราคาที่แพงมาก และการตรวจโดยผู้เชี่ยวชาญโรคพาร์กินสันก็สามารถให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องได้มากกว่าร้อยละ 90 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจ Functional MRI ในผู้ป่วยทุกรายยกเว้นกรณีที่อาการไม่ชัดเจน

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคพาร์กินสัน

พาร์กินสัน

1.ความชราภาพของสมอง

ชราภาพของสมอง

มีผลทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน (เกิดจากกลุ่มเซลล์ประสาทที่มีสีดำที่อยู่บริเวณก้านสมอง โดยทำหน้าที่สำคัญในการสั่งร่างกายให้เคลื่อนไหว) มีจำนวนลดลง โดยมากพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด

2.ยากล่อมประสาทหลัก

ยากล่อมประสาท

หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน โดยมากพบในผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่ต้องได้รับยากลุ่มนี้เพื่อป้องกันการคลุ้มคลั่ง รวมถึงอาการอื่น ๆ ทางประสาท แต่ปัจจุบันยากลุ่มนี้ลดความนิยมในการใช้ลง แต่ปลอดภัยสูงกว่าและไม่มีผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน

3.ยาลดความดันโลหิตสูง

ยาลดความดันสูง

ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้สมองลดการสร้างสารโดปามีน แต่ในระยะหลัง ๆ ยาควบคุมความดันโลหิตส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์นอกระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีผลทำให้ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่ส่งต่อสมองที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันต่อไป

4.หลอดเลือดในสมองอุดตัน

หลอดเลือดในสมองอุดตัน

ทำให้เซลล์สมองที่สร้างโดปามีนมีจำนวนน้อย หรือหมดไป

5.สารพิษทำลายสมอง

สารพิษทำลายสมอง

สารแมงกานีสในโรงงานถ่านไฟฉาย พิษจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์

6.สมองขาดออกซิเจน

สมองขาดออกซิเจน

ในกรณีที่จมน้ำ ถูกบีบคอ เกิดการอุดตันในทางเดินหายใจจากเสมหะหรืออาหาร เป็นต้น

7.ศีรษะถูกกระทบกระเทือน

ศีรษะกระทบกระเทือน

จากอุบัติเหตุ หรือโรคเมาหมัดในนักมวย

8.โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพันธุกรรม

โรควิลสัน ซึ่งเกิดจากการที่มีอาการของโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง สาเหตุมาจากธาตุทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา

9.ยากลุ่มต้านแคลเซียม

ยากลุ่มต้านแคลเซียม

ที่ใช้ในโรคหัวใจ โรคสมอง ยาแก้เวียนศีรษะ และยาแก้อาเจียนบางชนิด

การสังเกตอาการของโรคพาร์กินสัน

โดยทั่วไป อาการจะแสดงออกมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น อายุ ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา แต่โรคชนิดนี้จะมีอาการที่แสดงออกที่เห็นได้ชัด โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของสมองที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงอย่างช้า ๆ การวินิจฉัยโรคแต่เนิ่น ๆ และได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น ลองสังเกตตัวเองและคนในครอบครัวว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

1.อาการสั่น

อาการสั่น

พบว่าเป็นอาการเริ่มต้นของโรคประมาณร้อยละ 60 – 70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่ง ๆ จะมีอาการมากเป็นพิเศษ (4 – 8 ครั้ง / วินาที) แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมก็จะอาการสั่นลดลง หรือหายไป โดยมากพบอาการสั่นที่มือ และเท้า แต่บางครั้งอาจพบได้ที่คางหรือลิ้นก็ได้ แต่มักไม่พบที่ศีรษะ

2.อาการเกร็ง

อาการเกร็ง

ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะแขน ขา และลำตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักแต่อย่างใด

3.เคลื่อนไหวช้า

เคลื่อนไหวช้า

ผู้ป่วยจะขาดความกระฉับกระเฉง งุ่มง่าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มต้นเคลื่อนไหว บางรายอาจหกล้มจนเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ เช่น สะโพกหัก หัวเข่าแตก เป็นต้น

4.ท่าเดินผิดปกติ

ท่าเดินผิดปกติ

ผู้ป่วยจะมีท่าเดินจำเพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่น คือ ก้าวเดินสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และจะก้าวยาวขึ้นเรื่อย ๆ จนเร็วมากและหยุดไม่ได้ทันที โอกาสที่จะหกล้มหน้าคว่ำจึงมีสูง นอกจากนี้ยังเดินหลังค่อม ตัวงอ แขนไม่แกว่ง มือชิดแนบลำตัว หรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์

5.การแสดงสีหน้า

สีหน้าเฉยเมย

ใบหน้าของผู้ป่วยจะเฉยเมยไม่มีอารมณ์เหมือนใส่หน้ากาก เวลาพูดมุมปากจะขยับเพียงเล็กน้อย

6.เสียงพูด

พูดช้า น้ำลายสอมุมปาก

ผู้ป่วยจะพูดเสียงเครือ ๆ เบา ไม่ชัด หากพูดนาน ๆ ไป เสียงก็จะค่อย ๆ หายไปในลำคอ บางรายที่อาการไม่หนัก เมื่อพูดน้ำเสียงจะราบเรียบ รัว และระดับเสียงจะอยู่ระดับเดียวกันตลอด นอกจากนี้น้ำลายยังออกมาและมาสออยู่ที่มุมปากตลอดเวลา

7.การเขียน

มือสั่น

ผู้ป่วยจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อย ๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออก ส่วนปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้คล่องแคล่วอย่างปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุกโดยส่วนมากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการแทรกซ้อน คือ ท้องผูกเป็นประจำ ท้อแท้ซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย

การรักษาโรคพาร์กินสัน

รักษาด้วยยา

ซึ่งแม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัวหรือกลับมางอกทดแทนเซลล์เดิมได้ แต่ก็จะทำให้สารเคมีโดปามีนในสมองมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ สำหรับยาที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ยากลุ่ม LEVODOPA และยากลุ่ม DOPAMINE AGONIST เป็นหลัก (การใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ ตามความเหมาะสม)

ยารักษาพาร์กินสัน

ในระยะเริ่มต้นและระยะกลางของโรคยังเป็นการรักษาด้วยการใช้ยาเป็นหลัก เนื่องจากโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองหลายระบบได้แก่ โดพามีน โคลีน อะดรีนาลีน ซีโรโทนิน และอื่น ๆ ดังนั้นยาที่ใช้ในปัจจุบันจึงถูกคิดค้นให้ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทต่าง ๆ เหล่านี้

ในอนาคต การศึกษาจะเน้นไปที่การคัดกรองผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เริ่มมีความผิดปกติในสมองแต่ยังไม่เริ่มมีอาการของการเคลื่อนไหวผิดปกติ

ยาพาร์กินสันที่ใช้บ่อย ๆ ในทางคลินิก ได้แก่ยาที่เป็นสารตั้งต้นของสารโดพามีนยาที่ออกฤทธิ์ที่ตัวรับโดพามีน หรือยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายสารโดพามีนในสมอง เมื่อการตายของเซลล์สมองเพิ่มขึ้นตามการดำเนินของโรคจนถึงระยะท้าย ผู้ป่วยจะมีปัญหาอย่างมากในการดำเนินชีวิตด้วยตนเองและต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้ชิด จากปัญหาผลข้างเคียงของการใช้ยามาเป็นเวลานานได้แก่ อาการของโรคไม่ค่อยตอบสนองต่อยาหรือมีการเคลื่อนไหวยุกยิกผิดปกติ แพทย์อาจต้องพิจารณาการรักษาอื่น ๆ ตามความเหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น การผ่าตัดฝังตัวกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation) หรือการให้ยากระตุ้นตัวรับโดพามีนอย่างต่อเนื่องทางใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Apomorphine Pump) หรือการให้สารโดพามีนอย่างต่อเนื่องทางลำไส้เล็ก (Intrajejunal Duodopa Infusion)

ยาแปะรักษาโรพาร์กินสัน

ยาแปะโรคพาร์กินสัน

ยาแปะโรคพาร์กินสัน

การบริหารยาในรูปแบบใหม่ ๆ อาทิเช่น ยาแปะ ยาฝังใต้ผิวหนังในอนาคต การศึกษาจะเน้นไปที่การคัดกรองผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เริ่มมีความผิดปกติในสมองแต่ยังไม่เริ่มมีอาการของการเคลื่อนไหวผิดปกติ ด้วยความหวังที่จะใช้ยาใหม่หรือวิธีการที่จะชะลอการดำเนินของโรคจนถึงการรักษาโรคให้หายขาด มีการศึกษาอื่น ๆ ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการวิจัยเช่น การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell therapy)  และพันธุกรรมบำบัด (gene therapy) ด้วยการให้ไวรัสซึ่งเป็นตัวพายีนส์ที่สร้างโปรตีนนิวโรโทรปิกแฟกเตอร์ที่จะส่งเสริมเซลล์สมองให้เติบโต และคงอยู่ได้ซึ่งเป็นความหวังในการรักษาผู้ป่วยต่อไป

ทำกายภาพบำบัด

ทำกายภาพบำบัด

จุดมุ่งหมายของการรักษาก็คือ ให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติที่สุด สามารถเข้าสังคมได้อย่างดี มีความสุขทั้งกายและใจ ซึ่งมีหลักวิธีปฏิบัติง่าย ๆ คือ

ฝึกการเดิน

ฝึกการเดิน

ให้ค่อย ๆ ก้าวขาแต่พอดี โดยเอาส้นเท้าลงเต็มฝ่าเท้า และแกว่งแขนไปด้วยขณะเดินเพื่อช่วยในการทรงตัวดี นอกจากนี้ควรหมั่นจัดท่าทางในอิริยาบถต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะ รองเท้าที่ใช้ควรเป็นแบบส้นเตี้ย และพื้นต้องไม่ทำมาจากยาง หรือวัสดุที่เหนียวติดพื้นง่าย

เมื่อถึงเวลานอน

เตียงนอนที่ไม่สูงเกินไป

ไม่ควรให้นอนเตียงที่สูงเกินไป เวลาจะขึ้นเตียงต้องค่อย ๆ เอนตัวลงนอนตะแคงข้างโดยใช้ศอกยันก่อนยกเท้าขึ้นเตียง

ฝึกการพูด

ฝึกการพูด

โดยญาติจะต้องให้ความเข้าอกเข้าใจค่อย ๆ ฝึกผู้ป่วย และควรทำในสถานที่ที่เงียบสงบ

การผ่าตัด

การผ่าตัด

โดยมากจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และมีอาการไม่มากนัก หรือในผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น อาการสั่นที่รุนแรง หรือมีการเคลื่อนไหวแขน ขา มากผิดปกติจากยา ปัจจุบันมีการใช้วิธีกระตุ้นไฟฟ้าที่สมองส่วนลึกโดยผ่าตัดฝังไว้ในร่างกาย พบว่ามีผลดี แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคนรอบข้างในการพัฒนาฟื้นฟูด้านร่างกาย รวมถึงจิตใจ ดังนั้นหากท่านมีคนใกล้ชิดที่เป็นโรคชนิดนี้ จึงควรรีบนำมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคอันจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุแล้ว ลูกหลานควรใส่ใจดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวเพื่อให้บุคคลอันเป็นที่รักของท่านได้มีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ ร่างกายคนเราเมื่อเข้าสู่วัยชราก็เป็นธรรมดาที่โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ โรคที่เกิดได้แก่ “โรคพาร์กินสัน” ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางที่จะส่งผลให้เกิดอาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า เราสามารถดูแลตัวเองได้เพื่อลดผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัวนะคะ

อ้างอิงจาก หาหมอ.com , POBPAD   www.ocare.co.th

leave your comment


Your email address will not be published. Required fields are marked *